วัดหลวงประชาบูรณะ: ศูนย์พัฒนาจิตใจและความรู้ชุมชน
Community Service | Workshop: Honor Award
“The participation processes are integrated throughout the design activities from community meetings to design development and construction. The project is designed in response to the community needs for creating a strong relationship between the monks and the residences, including the encouragement for the neighborhood to use the space.”
2019 AWARDS JURY
Project Summary :
Luangpracha Burana Temple locates at Nakonpathom province which takes two hours’ drive from Bangkok. There are ancient pieces of evidence founded in the temples proven the temple was built in the Dvaravati era. In ancient times, the temple was valued to the community not only a sacred settlement for mind reliability but also acted as a community center, a school, a playground, a festival activities space, and a meeting place for everyone.
In the present, the temples in Thailand have become less valued than before. The temple remains its position as a sacred place, but the purpose of visiting has changed in the present, for examples, people come to the temple in the time of travel, a family's duty activity, a parking space, a place for arranging funeral, a place of homeless, and space for the elderly.
However, the abbot intends to maintain the peaceful environment, cleanliness, and multipurpose space of the temple for annual Buddhism activities, but they are facing with lacking ability to take care and maintain all space in the temple because of few amounts of monks.
In 2017, the project owner who settled her business nearby the temple aims to engage in construction redevelopment of the abandoned pavilion and to refurbish the landscape. She volunteered to initiate the redevelopment project with creative activities to revive the temple as a community center again.
The project owner in collaboration with the abbot, the monks, a landscape designer, historical expert, the community, the temple board of administration, and contemporary Buddhism knowledge consultant attempt to set the vision for redevelopment. The meeting and workshop run several times to finalize the objective for the temple self-sustainable with community engagement.
Besides to develop the pavilion and landscape for the revival of the ancient, aged temple, the project proposes weekly, monthly, and annual activity plans for mind practice activities, knowledge promotion activities, the space maintenance and skill development that beneficial to the communities and schools nearby.
Since the construction finished in September 2018, the temple with the partnership of communities run the interesting activities for monks and community rotation type such as, the blood donation, open outdoor dhamma lecture, dhamma course for kids, a library for the community, and more combination of mind and knowledge development activities. In 2019, the temple is selected as a role temple of the province and become a place of community leisure space in the free time.
ชื่อโครงการ : วัดหลวงประชาบูรณะ: ศูนย์พัฒนาจิตใจและความรู้ชุมชน
สถานที่ตั้ง : อ.นครไชยศรี จ.นครปฐม ประเทศไทย
LANDSCAPE ARCHITECT : บริษัท ฉมาโซเอ็น จำกัด
หัวหน้าโครงการ : นำชัย แสนสุภา
ภูมิสถาปนิกโครงการ : ขวัญชนก คงโชคสมัย
เจ้าของโครงการ : บริษัท นครไชยศรีอุตสาหกรรม จำกัด
ผู้ก่อสร้างงานภูมิทัศน์ : บ.กรีนโวลันเทียร์ จำกัด
ลิขสิทธิ์ภาพ/ ช่างภาพ : เมธิพัฒน์ พรหมโมเมศ, คณะทำงานปรับปรุงวัดหลวงประชาบูรณะ , วัดหลวงประชาบูรณะ
หน่วยงาน/บุคคลอื่นๆที่ส่วนร่วมในผลงาน : โครงการวัดบันดาลใจ, บริษัท สยามราชธานี จำกัด
ลักษณะโครงการ :
ปรับปรุงภูมิทัศน์วัดด้วยการร่วมมือของชุมชน เพื่อเป็นศูนย์พัฒนาจิตใจและความรู้ชุมชน
แนวคิดหลักของโครงการ :
วัดหลวงประชาบูรณะ: ศูนย์พัฒนาจิตใจและความรู้ชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูพื้นที่วัดหลวงประชาบูรณะ ให้เป็นพื้นที่ศูนย์กลางของชุมชน ทั้งด้านความเป็นแหล่งศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน ด้านการเป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่หนังสือพระธรรมคำสอน ด้านการเป็นแหล่งพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ ด้านการเป็นพื้นที่ของกิจกรรมสุขภาวะชุมชน เช่น ลานออกกำลังกาย ลานจัดกิจกรรมของชุมชนและโรงเรียน พื้นที่พักผ่อนในเวลาว่างของชุมชน
การพัฒนาวัดด้วยความร่วมมือของชุมชนตั้งแต่กระบวนการออกแบบ รวมถึงการบริหารจัดการกิจกรรมสร้างสรรค์ในวัด ช่วยลดระยะห่างระหว่างความสัมพันธ์ของวัดและชุมชน และสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมในวัด ที่จะส่งผลให้วัดหลวงประชาบูรณะมีชุมชนร่วมกันดูแลวัดต่อไปได้อย่างยั่งยืน
รายละเอียดโครงการ :
วัดหลวงประชาบูรณะ มีขนาดประมาณ12 ไร่ ตั้งอยู่ที่ อำเภอนครไชยศรี จังหวัดนครปฐม จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบในวัด ได้แก่ เจดีย์โบราณ ใบเสมา ระฆังหิน และพระพุทธรูป จึงสันนิษฐานได้ว่าถูกสร้างตั้งแต่สมัยทวาราวดี
ในอดีตบทบาทของวัดในสังคมของพุทธศาสนิกชน นอกจากจะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ รวบรวมความเชื่อและศูนย์รวมจิตใจของคนแล้ว วัดยังเป็นศูนย์รวมชุมชน ทั้งในบทบาทของ การเป็นสถานที่สอนหนังสือ สนามเด็กเล่น พื้นที่จัดกิจกรรมชุมชนตามเทศกาล และพื้นที่นัดพบปะของชุมชน แม้ปัจจุบันบทบาทของวัดยังคงเป็นแหล่งศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธ แต่บทบาทของวัดเปลี่ยนไปตามการพัฒนาของเมือง ทำให้วัดกลายเป็นสถานที่เพื่อประกอบกิจกรรมทางศาสนา สถานที่ท่องเที่ยว พื้นที่จัดงานฌาปนกิจ และพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุ เกิดระยะห่างระหว่างความสัมพันธ์ของวัดและชุมชน ในสังคมประเทศไทย
วัดหลวงประชาบูรณะโดยปกติประจำวันจะมีลักษณะทางกายภาพเดิมที่สงบและร่มรื่น แต่ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา จะใช้เป็นพื้นที่จัดงานกิจกรรมประจำปีของชุมชน โดยจะมีกิจกรรมทางพุทธศาสนา พร้อมกับการวางแผงขายของเต็มพื้นที่ ท่านเจ้าอาวาสจึงตั้งใจรักษาพื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมอเนกประสงค์ที่หลากหลายของชุมชน ด้วยการรักษาสภาพเดิม ซ่อมบำรุงตามจำเป็น หรือตามแต่จะได้รับการสนับสนุนจากเจ้าภาพ ในปี 2017 ผู้ประกอบการที่ดำเนินกิจการอยู่ใกล้เคียงพื้นที่วัด มีวัตถุประสงค์จะสนับสนุนการฟื้นฟูพื้นที่วัดที่ไม่ได้ถูกใช้งานและมีความเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา จึงได้อาสาเป็นผู้ริเริ่มโครงการพัฒนาวัด ฟื้นฟูพื้นที่ของวัด และจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ในวัดเพื่อชุบชีวิตให้วัดหลวงประชาบูรณะกลับมาเป็นศูนย์กลางของชุมชนอีกครั้งเหมือนในอดีต
เจ้าของโครงการในฐานะชุมชน ร่วมกับ ผู้ออกแบบโครงการ จัดการประชุมริเริ่มโครงการ โดยนัดหารือระหว่าง เจ้าอาวาส พระสงฆ์ในวัด โครงการวัดบันดาลใจ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์จากกรมศิลปากร คณะกรรมการบริหารวัด ชุมชนท่านอื่นๆ เพื่อร่วมกันระดมความเห็นหารือวิสัยทัศน์ในการพัฒนาโครงการ จนได้เป็นวิสัยทัศน์ในการฟื้นฟูวัดอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อความยั่งยืน ด้วยเป้าหมายในการบริหารจัดการพื้นที่ใช้งานกิจกรรมทางศาสนา และแบ่งสัดส่วนพื้นที่เพื่ออนุรักษ์โบราณสถาน จึงวางผังแม่บทสำหรับการพัฒนาระยะยาว ด้วยการกำหนดทางสัญจรสำหรับรถยนต์และทางเท้า ปรับปรุงวัสดุพื้นให้เหมาะสมต่อการใช้งาน และจัดพื้นที่สำหรับการสร้างอาคารเพื่อปฏิบัติธรรมในอนาคต
การปรับปรุงภูมิทัศน์ถือเป็นงานนำร่องในการพัฒนาโครงการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรเดิมที่มีอยู่ ได้แก่ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ต้นไม้เดิม ระบบงานระบายน้ำเดิม และเพิ่มเติมองค์ประกอบเท่าที่จำเป็น เช่น จัดระบบพื้นที่จอดรถ จัดขอบเขตลานจัดกิจกรรม ลานจงกรม ลานอุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ ระบบป้ายบอกทาง เป็นต้น รูปแบบการใช้งานในพื้นที่ เน้นการใช้งานเพื่อกิจกรรมอเนกประสงค์ ทั้งอาคารศาลาที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นห้องประชุม ห้องสมุด ห้องจัดกิจกรรม และห้องแสดงนิทรรศการ รวมถึงองค์ประกอบกำแพงเตี้ย ที่สามารถใช้เป็น ม้านั่ง เวที และองค์ประกอบบอกขอบเขตพื้นที่ได้อีกด้วย วัสดุในโครงการเลือกใช้วัสดุที่มีความคงทน ดูแลรักษาน้อย และซ่อมบำรุงได้ง่าย เช่น กรวดละเอียด พื้นแกรนิต อิฐ คอนกรีตขัดหยาบ เพื่อความยั่งยืนในการดูแลพื้นที่ของตนเองได้ในอนาคต รวมถึงการเลือกใช้พรรณไม้ที่ต้องการดูแลรักษาต่ำ เช่น แคนา หนวดปลาหมึกแคระ ขาไก่เขียว ลิ้นมังกร เป็นต้น โดยรักษาต้นไม้เดิมทุกต้น และตัดแต่งบำรุงรักษาต้นไม้เดิมให้มีรูปทรงที่เหมาะสมในการเติบโตในระยะยาว ระบบการระบายน้ำฝน เนื่องจากเดิมพื้นที่มีปัญหาน้ำขัง น้ำท่วม จึงจัดทำลานกิจกรรมลดระดับที่สามารถใช้เป็นพื้นที่รองรับน้ำฝน ก่อนสูบออกสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะนอกโครงการ
หลังจากโครงการดำเนินก่อสร้างเสร็จในปี 2018 ทางชุมชนได้เข้าจัดกิจกรรมเปิดพื้นที่โครงการ เพื่อให้ชุมชนได้เข้าใช้โครงการ และขยายความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ เช่น กิจกรรมบริจาคเลือด กิจกรรมอบรมการจัดการระบบการเงินส่วนตัว กิจกรรมค่ายศาสนาเยาวชน เป็นต้น ในลักษณะการจัดแผนงานกิจกรรมประจำเดือนและประจำปี โดยได้รับความร่วมมือจากประชาชนในแต่ละกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ทางวัดได้ดำเนินการใช้พื้นที่อาคารเป็นห้องเรียนศาสนาอบรมพระใหม่ของขณะอำเภอในระหว่างเข้าพรรษา อบรมถักไม้กวาด รวมถึงกิจกรรมระดมแรงอื่นๆผ่านความร่วมมือของวัดและชุมชนอย่างต่อเนื่อง ผลจากการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืนของชุมชนส่งผลให้ในปี 2019 ทางวัดได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาวัดของจังหวัดและได้รับทุนในการพัฒนาวัดต่อไปอีกระยะเวลา 3 ปี จากหน่วยงานราชการ