บริษัท อินทิเกรเตท ฟิลด์ จำกัด

อุทยานชลประทานไทย

Master Planning: Honor Award

“The planning is outstanding. This project transformed a golf course into a public space. It creates learning space while restoring the ecosystem which benefits the greater good.”

2019 AWARDS JURY

Project Summary :

Thailand Irrigation Park is a public park crated to accommodate primarily the local residents living around Tiwanon Road. IF and Cloudfloor develops the project to integrate the knowledge surrounding the relationship between water and human life through four main sections: Thailand Irrigation Park, Thailand Irrigation Museum, Innovative Agriculture and Self-sufficient Agricultural Projects. The park, whose acres of space includes recreational areas, running routes, bicycle lanes, is embraced by natural surroundings of plants selected and curated to showcase water’s close relationship to people’s way of life. Created as a part of the program are model paddy fields, which exhibit different methods of water management employed to rice farming. The harvested produces are later sold at the project-hosted farmer market, which, as one of the mechanisms of the park’s Ecosystem, exemplifies the interlaced relationship between human life and water.

All area of Thailand Irrigation Park situated on the vast 95.5-acre land is designed to be able to access through the three parallel main circulations: Cultural Route, Water and Irrigation Route and Agricultural Route. Such program allows visitors to experience the stories, knowledge, history and evolution of water, irrigation and agriculture with the three routes intertwined and connected with various nodes hosting different types of activities.

ชื่อโครงการ : อุทยานชลประทานไทย
สถานที่ตั้ง : จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย
LANDSCAPE ARCHITECT : บริษัท อินทิเกรเตท ฟิลด์ จำกัด
หัวหน้าโครงการ : เลอพงษ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์  
Client/Owner : กรมชลประทาน

หน่วยงาน/บุคคลอื่นๆที่ส่วนร่วมในผลงาน: 
Co-Designer : Cloudfloor

ลักษณะโครงการ :

ผังแม่บทระยะยาว

แนวคิดหลักของโครงการ :

เริ่มต้นจากคำถามที่ว่าเราจะให้คนเข้าใจ น้ำ ได้อย่างไรในเมื่อมนุษย์นั้นอุปโภคและบริโภคน้ำในทุกวันจนบางครั้งหลงลืมไปว่า  น้ำ นั้นมีความสำคัญมากมายเพียงใด ไม่ใช่แค่การดื่มหรือการใช้ แต่เกี่ยวข้องกับทั้งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และเศรษฐกิจอย่างไร ซึ่งความเข้าใจที่ว่านี้นั้นมีความยิ่งใหญ่มากกับชีวิตมนุษย์จริงๆ ทำให้เป้าหมายหลักของแนวความคิดในการออกแบบโครงการอุทยานชลประทานไทย ไม่ใช่แค่การออกแบบเพื่อนำเสนอเรื่องราวของน้ำแต่เป็นการออกแบบเพื่อสร้างระบบนิเวศทางการเรียนรู้ ในบริบทที่แตกต่างออกไป ทั้งกับเมือง การชลประทาน การเกษตรพอเพียง และเกษตรยุคใหม่ สร้างพื้นที่สาธารณะสำหรับทุกคนที่มี  น้ำ เป็นองค์ประกอบในการให้ความรู้ผ่านพื้นที่ใช้งานต่างๆ ที่มีน้ำในการทำหน้าที่ที่แตกต่างกัน ทั้งพื้นที่รับน้ำ สวนอุทยานชลประทานไทย ตลาดนัดเกษตร พิพิธภัณฑ์ชลประทานไทย พื้นที่นวัตกรรมการเกษตรกร พื้นที่เกษตรพอเพียง การออกแบบนี้เพื่อเป้าหมายหลักในการให้เราได้เข้าใจเรื่องราวของ  น้ำ และให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญที่ยิ่งใหญ่กับชีวิตมนุษย์ดั่งที่ พระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงดำรัสไว้สั้นๆ แต่เต็มไปด้วยความหมายที่ลึกซึ่งว่า น้ำคือชีวิต

รายละเอียดโครงการ :

น้ำคือสสารที่อยู่ใกล้ชิดกับมนุษยชาติมากที่สุด ในโลกเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบถึงร้อยละ 70 เช่นเดียวกันกับร่างกายของมนุษย์ที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบถึง 70% ตั้งแต่เกิดจนตาย มนุษย์เราผูกพันกับน้ำตลอดเวลา ทั้งเพื่อการดำรงชีวิต ความเป็นอยู่ การเกษตร วัฒนธรรม โดยเราเคยชินกับการใช้น้ำ ทั้งการอุปโภคและบริโภคจนกลายเป็นเรื่องปกติสามัญ ซึ่งสอดคล้องไปกับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ว่า น้ำคือชีวิต ซึ่งนับเป็นคำอธิบายความสำคัญของน้ำได้ที่ดีที่สุด โดยพระองค์ยังให้ความสำคัญกับการเก็บกัก รักษา และจัดสรรน้ำในประเทศเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนทุกภาคส่วน ในฐานะของ ‘การชลประทาน

กรมชลประทาน องค์กรราชการที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการจัดการน้ำ ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง ทำงานเพื่อให้เกิดความสมดุลของน้ำให้กับประชาชนทุกคนได้เล็งเห็นว่า ‘การเรียนรู้ที่จะอยู่กับน้ำ’ เป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ทั้งการอุปโภค บริโภค การจัดการ การเกษตร หรือภัยพิบัติซึ่งเกี่ยวเนื่องกับน้ำ ตั้งแต่ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เหล่านี้จึงนำไปสู่การก่อสร้างโครงการอุทยานชลประทานไทย (Thailand Irrigation Park) ขึ้นในพื้นที่สนามกอล์ฟชลประทาน ปากเกร็ด บนเนื้อที่ 239 ไร่ ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญกับพื้นที่โดยรอบอย่างมาก ด้วยทำหน้าหลักที่เป็นพื้นที่รับน้ำให้กับชาวนนทบุรีในช่วงที่มีระดับน้ำท่วมสูง อีกทั้งบริบทโดยรอบยังประกอบไปด้วยชุมชน ที่อยู่อาศัย โรงเรียน วัด และมีรถไฟฟ้าใต้ดินลอดผ่าน

ตามแผนผังเมืองแม่บท ทางกรมชลประทานนั้น มีความต้องการที่จะเปลี่ยนพื้นที่สนามกอล์ฟแห่งนี้ให้เป็นพื้นที่สาธารณะซึ่งเน้นในเรื่องการให้ความรู้และความเข้าใจกับน้ำในทุกระดับ และเป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ชุมชน โดยบนพื้นที่ 239 ไร่ นั้นได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เกี่ยวกับน้ำ การชลประทานและการเกษตร โดยประกอบไปด้วย ‘สวนอุทยานชลประทานไทย’ (Thailand Irrigation Park) เป็นสวนสาธารณะที่ทำหน้าที่ต้อนรับประชาชนจากถนนติวานนท์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เปรียบเสมือนห้องนั่งเล่นของถนนติวานนท์ที่ทีมพัฒนาตั้งใจสอดแทรกความรู้เรื่องน้ำที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผ่าน water pavilion รอบล้อมไปด้วยพื้นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ลู่วิ่งออกกำลังกาย ทางจักรยาน และส่วนสันทนาการต่างๆ พืชพรรณในสวนแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของสภาวะน้ำแต่ละแบบ ไม่ว่าจะเป็นแปลงนาตัวอย่างที่แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างการปลูกข้าวแบบระดับน้ำสูงและแบบระดับน้ำน้อย โดยผลผลิตที่ได้มาจะถูกแปรรูปภายในโครงการและนำมาจัดจำหน่ายในตลาดนัดเกษตรกร ซึ่งคือระบบนิเวศของการอยู่ร่วมกับน้ำ ที่ถ่ายทอดผ่านสวนอุทยานชลประทานไทย

ขณะที่หัวใจของโครงการดังกล่าวคือ ‘พิพิธภัณฑ์ชลประทานไทย’ (Thailand Irrigation Museum) พิพิธภัณฑ์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของการชลประทาน โดยเนื้อหาภายในนั้นครอบคลุมตั้งแต่ประวัติศาสตร์ของการชลประทาน พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับชลประทานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร และวิวัฒนาการของการชลประทานในอนาคต โดยแสดงเนื้อหาอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์สำหรับพื้นที่ภายนอกนั้นเป็นการบอกเล่าเรื่องราวชลประทานกับการเกษตร ตลอดจนเครื่องมือและเครื่องจักรของกรมชลประทานที่เยาวชนสามารถเข้าใจได้ไม่ยาก

ส่วนที่สามเป็นพื้นที่อนาคตของการเกษตร เปรียบเสมือนห้องทดลองกลางแจ้งของโครงการ ประกอบไปด้วยส่วนนวัตกรรมการเกษตร (Innovative Agriculture) พื้นที่กระจายความรู้ทางการเกษตรซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ไม่ว่าเกษตรกร นักวิทยาศาสตร์ กรมชลประทาน และผู้ที่สนใจก็สามารถมาพัฒนาและแบ่งปันความรู้ ตลอดจนวิวัฒนาการต่างๆ ตั้งแต่โซล่าเซลล์ โดรน ไปจนถึงนวัตกรรมในอนาคตได้ร่วมกัน นอกจากนี้ ยังมีแปลงบำบัดแบบอควาโปนิกส์ (Aquaponics) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สามารถหมุนเวียนทำเกษตรนวัตกรรมได้หลากหลาย

ส่วนสุดท้ายที่เป็นพื้นที่ด้านในสุดของโครงการนั้น คือ ห้องครัวของโครงการเกษตรพอเพียง ซึ่งประกอบกันเพื่อสร้างระบบนิเวศทางความรู้ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ การชลประทาน และการเกษตร เป็นส่วนที่มีเป้าหมายเพื่อสืบทอดพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ออกแบบให้เกิดระบบนิเวศทางการเกษตรแบบยั่งยืนและพอเพียง ความกินดีอยู่ดีและพึ่งพาตัวเองได้เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจ โดยเฉพาะเกษตรกร โดยนำพระราชปรัชญาและทฤษฎีของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาจำลองในพื้นที่โครงการดังกล่าว

ทุกส่วนประกอบของโครงการถูกออกแบบให้ใช้งานผ่าน 3 เส้นทางคู่ขนาน (main circulation) ได้แก่ ทางศึกษาทางวัฒนธรรม ทางศึกษาน้ำกับชลประทาน และทางศึกษาทางการเกษตร เพื่อให้ผู้ชมสามารถได้ซึมซับเรื่องราว ความรู้ ประวัติศาสตร์ และวิวัฒนาการของน้ำ การชลประทาน และการเกษตร โดยแต่ละเส้นทางได้ถูกร้อยเรียงและเชื่อมโยงเป็นจุดร่วมกันเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ

ในการออกแบบโครงการอุทยานชลประทานไทย มีเป้าหมายสำคัญในการเป็นโครงการต้นแบบเพื่อสร้างจิตสำนึก มอบความรู้และสร้างความเข้าใจในทุกระดับ ทั้งระดับบุคคลที่ต้องการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคน น้ำ และธรรมชาติภายในโครงการ ซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้และความรู้สึกให้ตระหนักถึงความสำคัญของน้ำ ในระดับเมืองที่ต้องการคงศักยภาพพื้นที่รับน้ำ ชะลอน้ำ และระบายน้ำให้กับบริเวณโดยรอบถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี และเสริมการสร้างพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ ที่พักผ่อนหย่อนใจให้ได้มีพื้นที่ออกกำลังกาย พบปะ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีคุณภาพ และท้ายสุดในระดับประเทศ โดยจะทำหน้าที่เป็นโครงการต้นแบบในการให้ความรู้เกี่ยวกับน้ำ การชลประทาน และการเกษตรในทุกรูปแบบกับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นประชาชน นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร รวมทั้งจะเป็นศูนย์กลางขององค์ความรู้ที่เกี่ยวของกับน้ำ เพราะเชื่อว่าเราทุกคนเห็นความสำคัญของน้ำและน้ำคือชีวิตของพวกเราจริงๆ