เมกา ฟู้ดวอล์ค
Commercial: Excellent Award
“This is a role model for landscape architecture design in the court of a department store. The project creates an ecosystem and microclimate within the buildings by reducing the use of A/C and introducing the natural space instead. The design well responds to the user activities. There is design innovation as well as water circulation system within the project.”
2019 AWARDS JURYProject Summary:
Mega FoodWalk is the collaborative design of an enjoyable landscape atrium, relaxing amphitheater, and experiential boardwalk. Within Mega Bangna shopping complex located in the suburbs of southern Bangkok, this extended semi-outdoor food & beverage expansion is designed to create a comfortable microclimate and immersive experience by innovatively incorporating multiple active & passive cooling strategies harmoniously within interactive and tectonic landscape features. The expansion zone represents a marrying of different disciplines to create a unique commercial experience that engages at nearly every corner and path. A unique experience that was created through a truly collective design effort of different disciplines and shared vision with the consultants and the client.
ชื่อโครงการ : เมกา ฟู้ดวอล์ค
สถานที่ตั้ง : ห้างเมกาบางนา จังหวัดสมุทรปราการ
บริษัท / ผู้ออกแบบ : บริษัท แลนด์สเคป คอลลาบอเรชัน จำกัด
หัวหน้าโครงการ : สมเกียรติ โชควิจิตรกุล
ภูมิสถาปนิกโครงการ : ปวินท์ บรรเทิงหรรษา
ผู้ว่าจ้าง/เจ้าของโครงการ : บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด
ผู้รับเหมางานภูมิทัศน์ : บริษัท ฤทธา จำกัด
ลิขสิทธิ์ภาพ/ช่างภาพ : รุ่งกิจ เจริญวัฒน์
Lead Architect : Makakrai Suthadarat
Director : Widsara Suthadarat
Design Team : Rinchai Chaivaraporn, Peera Teerittaveesin, Prapaphan Phongklee, Panintorn Chokprasertthaworn, Pakhon Promta, Singha Ounsakul, Rattha Jiamjarasrangsi, Jirapas Leangsakul, Suvijak Yatinuntsakul
Interior Design : PIA
Graphic Design : PIA
Lighting Design : WGC International
Structural Engineering : Aurecon
MEP Engineering : Aurecon
Cost Consultant : RHLB (Siam) Ltd.
Construction Manager : Arcadis Thailand
ลักษณะโครงการ: Commercial landscape design
แนวคิดหลักของโครงการ:
แนวคิดโครงการ Mega FoodWalk มุ่งเน้นการออกแบบให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมกับพื้นที่ทุกตารางนิ้วที่ศูนย์การค้าได้จัดสรรไว้ให้มากที่สุด (Immersive Experience) ด้วยการวางผังและออกแบบอาคารสามชั้นให้โอบล้อม Semi-Outdoor Courtyard ที่อยู่ชั้นล่างสุดไว้ เพื่อสร้างจุดรวมสายตาจากทุกมุมมองของอาคาร เอื้อให้คนเข้าไปมีส่วนร่วมในพื้นที่ ด้วยการใช้ทางลาดในการเชื่อมต่อ อีกทั้งแนวคิดการสร้างภาวะน่าสบายของศูนย์การค้าแห่งนี้ยังใช้หลักการสร้างความเย็นสบายโดยวิธีธรรมชาติ และการติดตั้งระบบปรับอากาศ (Passive & Active Cooling System) ส่งผลให้ Semi-Outdoor Courtyard แห่งนี้ เกิดภูมิอากาศเฉพาะของพื้นที่ขึ้น (Microclimate) ซึ่งมีการควบคุมช่วงอุณหภูมิและความชื้นของอากาศไว้เป็นอย่างดี เพื่อให้เกิดความสมดุลกันระหว่างการเติบโตอย่างยั่งยืนของพันธุ์ไม้ และภาวะน่าสบายของมนุษย์
รายละเอียดโครงการ:
เนื่องจากสภาพอากาศร้อนชื้นในกรุงเทพฯ ทำให้การดึงดูดผู้คนให้ออกมาใช้พื้นที่ด้านนอกอาคารเป็นเรื่องยาก ด้วยวิสัยทัศน์ของเจ้าของผู้พัฒนาโครงการที่ต้องการให้พื้นที่แห่งนี้เป็นมากกว่าห้างสรรพสินค้าทั่วไป และมุ่งหวังให้ Mega Bangna เป็นอีกหนึ่งพื้นที่แห่งความสุขของทุกครอบครัว ที่พร้อมรองรับการใช้งานจากคนทุกเพศ ทุกวัย จึงได้เกิดความร่วมมือจากหลากหลายสาขาวิชาชีพ ในการผสมผสานการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมเข้ากับการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม จนเกิดเป็นพื้นที่กลางแจ้งภายใต้ภาวะน่าสบาย (Comfort Zone) สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อเอื้ออำนวยให้ผู้คนได้มีโอกาสออกมาสัมผัสธรรมชาติภายนอกอาคารมากขึ้นการมุ่งเน้นที่จะนำหลักการลดความร้อนมาประยุกต์ใช้กับทุกการออกแบบนั้น มีการตอบโจทย์ตั้งแต่การวางผังอาคารสูง 3 ชั้น ให้โอบล้อม semi-outdoor courtyard ด้านล่างไว้ และติดตั้งหลังคาโปร่งแสงขนาดใหญ่ที่ผ่านการคำนวณรูปร่างให้เอื้อต่อการหมุนเวียนของอากาศ อีกทั้งตัวโครงสร้างหลังคายังได้รับการออกแบบช่องเปิดเพื่อรับลมธรรมชาติ(Passive Cooling) ให้ไหลเวียนลงมายัง Courtyard ชั้นล่างสุด เพื่อช่วยลดอุณหภูมิและความอบอ้าวของพื้นที่ด้านล่างให้ลดน้อยลง
บทบาทของภูมิสถาปนิกสำหรับโครงการนี้ คือการออกแบบพื้นที่ด้วยความเข้าใจในพฤติกรรมผู้ใช้งาน โดยคำนึงถึงเส้นทางเดินที่สามารถเชื่อมต่อพื้นที่ต่างๆได้อย่างสะดวกสบาย เข้าถึงง่าย ไม่เป็นอุปสรรคแก่ผู้ใช้งานทุกประเภท และสร้างภาวะน่าสบายในพื้นที่กิจกรรมนั้นเพื่อให้ผู้คนออกมาใช้งานได้จริง โดยหลักการทั้งหมดข้างต้น จะถูกออกแบบให้ผสมผสานไปกับองค์ประกอบทางภูมิทัศน์ (Landscape Feature) ภายในพื้นที่อย่างกลมกลืน
องค์ประกอบทางภูมิทัศน์ที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ในการเดินห้างที่เชื่อมต่อระหว่างพื้นที่กิจกรรมชั้นล่างสุดให้ต่อเนื่องเป็นส่วนหนึ่งกับร้านค้าที่เรียงรายตลอดสามชั้นนั้น ถูกออกแบบเป็นพื้นที่กิจกรรมที่หลากหลายดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาใช้งาน ทั้งลานโล่งกว้างใจกลางอาคารซึ่งเป็นพื้นที่อเนกประสงค์สำหรับจัดงานตลอดทั้งปี มี Amphitheater ขนาดใหญ่เชื่อมพื้นที่ชั้นสองไล่ระดับลงมายังลานโล่งข้างต้น โดยมีการเลือกใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก เพื่อเพิ่มความสบายตา อบอุ่น และน่าใช้งานตลอดขั้นบันได นอกจากนี้ยังมีทางเดินหินแกรนิตที่มีการออกแบบให้เป็นทางลาดเพื่อเอื้อต่อการใช้งานของผู้ที่มีความต้องการพิเศษ โดยมีการยกระดับพื้นให้พาดผ่านทางน้ำหลากหลายรูปแบบ ซึ่งน้ำที่ไหลเวียนในงานภูมิทัศน์นี้เป็นน้ำเย็นที่ได้จาก พลังงานแสงอาทิตย์และระบบให้ความเย็นอาคาร (Solar Power Chilling System) นอกจากนี้ยังมีการวางเส้นทางให้ลัดเลาะผ่านแนวต้นไม้เปิดมุมมองใหม่ๆของผู้ใช้งาน ให้ได้พบเห็นและสัมผัสกับความหลากหลายของวัสดุที่นำมาสรรค์สร้างตลอดทางเดิน
การสร้างภาวะน่าสบายล้วนเกี่ยวข้องกับการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในอากาศเป็นหลัก อีกทั้งยังมีการใช้ระบบการลดความร้อน โดยใช้หลักการระบายอากาศ และนำละอองน้ำเข้ามาเพื่อลดอุณหภูมิ (Evaporative Cooling System)ตลอดทางเดินลัดเลาะพื้นที่ปลูกต้นไม้ ยังช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพรรณไม้อีกด้วย การสร้างพื้นที่สีเขียวในพื้นที่แห่งนี้ จึงจำเป็นต้องมีการเลือกชนิดพันธุ์ที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่มีอยู่จริงอย่างรอบคอบ ด้วยการเลือกสรรพืชพันธุ์ที่ทนร่ม และเติบโตในสภาพอากาศร้อนชื้นได้ ส่งผลให้มีความหลากหลาย และความต่างระดับของชนิดพันธุ์ต่างๆ เกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้น