NONG FAB LNG RECEIVING TERMINAL
Master Planning: Honor Award
“There are several technologies and concepts for environmental solutions: to name a few, the water circulation system, the solution for protecting the heated water from harming the environment.”
2019 AWARDS JURY
Project Summary :
NONG FAB LNG TERMINAL, RAYONG PROVINCE, THAILAND
The Harmonized Juxtaposition between Industry and Nature
Introduction
PTT LNG Company Limited has bought a new land of 29.7 hectares to construct a new receiving terminal, where 21.6 hectares will be used as the receiving terminal and 8.1 hectares will be designated as the office zone.
Design Concept
The main concept of “harmonizing the juxtaposition between industry and nature”, is to restore the degraded environment. The landscape design has a variety of ecosystems, where different kinds of forests and swamps can be found.
Besides using for the air conditioning system, the excess chilled water from the regasification processes will also be used for supporting the operation of a special climate for 23 species of temperate plant communities at the climatic atrium and the cloud forest, instead of directly transmitting this chilled water to the sea, which may harm the marine ecosystem.
Apart from the chilled water, water runoff will process through a filtering system at the bio-swell before being discharged into the retention pond. The retention pond will help maintaining the softscape, creating a sustainable ecosystem, reducing temperature and increasing carbon sequestration.
The Restoring of Nature
To achieve a zero runoff water system, a replicate of the natural ecotone is implemented from the Swamp to Beach Forest. The Melaleuca Forest will be located at the bank of the retention pond. On the other side of the retention pond will be Swamp Peat Forest, and Beach Forest.
Furthermore, a protection strip will be placed along the site boundary to initiate new ecosystem, and control urban disturbance.
At the climatic atrium, a large waterfall will be constructed to circulate water and provide moisture for the cloud forest plants communities. The detention lawn behind the main building will prolong the runoff during rainy season and encourage infiltration to take place beneath the ground.
In short, the landscape design testifies the co-existence of nature and human activities, creating a win-win environment that is enjoyable by both parties, which can promote social connection and at the same time supporting ecosystem diversification and even restoring natural habitats for wildlife.
PROJECT TITLE : NONG FAB LNG RECEIVING TERMINAL
Location : Baan Nong Fab, Map Ta Phut, Rayong Province
LANDSCAPE ARCHITECT : TK Studio Co.,Ltd.
Lead Designer : Tawatchai Kobkaikit
Landscape Architect of Record :
Landscape Consultant :
ผศ.ดร.อังสนา บุณโยภาส
Landscape Designers :
นันทวัน ศิริทรัพย์
ชยาภรณ์ ภูมชาติ
กมลกร แช่มช้อย
ศิวนาถ อุบลรัตน์
Horticulturists :
ธัญนภัส ตอนเหนือ
ทิพย์ลดา ติ่งเคลือบ
Client/Owner : PTTLNG Company Limited
Landscape Contractor : THEERAPUNMAI COMPANY LIMITED
Prime Contractor : Punnarak Company Limited
Photography Credit : TK Studio Co.,Ltd.
หน่วยงาน/บุคคลอื่นๆที่ส่วนร่วมในผลงาน:
Architect
A49
Interior Architect
IA49
Structural Engineer
AE49
MEP Engineering
ME49
Lighting Design
LD49
Project Management
TGES
Sustainability Consultant
AFRICVS
Soil Improvement Consultant
ผศ.ดร.ชัยสิทธิ์ ทองจู
Water Analysis Consultant
ผศ.ดร.รุ่งเรือง พูลศิริ
ลักษณะโครงการ : ผังหลักโครงการ
แนวคิดหลักของโครงการ :
แนวคิดหลักของโครงการคือ “harmonizing the juxtaposition between industry and nature “ หรือ “การประสานกันอย่างลงตัวระหว่างอุตสาหกรรมและธรรมชาติ” จึงได้นำแนวคิด zero waste มาใช้กับการออกแบบ การบริโภคพลังงานและการผลิตของเสียที่เกิดจากอุตสาหกรรมจะถูกจำกัดให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด และที่สำคัญคือการฟื้นฟูต้นแฟบซึ่งเป็นไม้เด่นของพื้นที่บริเวณนี้ รวมถึงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม พื้นที่ภูมิทัศน์จึงถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศที่หลากหลาย มีป่าและพื้นที่ชุ่มน้ำประเภทต่างๆ และโดดเด่นด้วยการใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์
กล่าวโดยสรุปการออกแบบภูมิทัศน์ในโครงการนี้ อาจทำให้การประสานกันระหว่างการพัฒนาอุตสาหกรรมและธรรมชาติเป็นจริงขึ้นมาได้ เป็นพยานถึงการอยู่ร่วมกันของธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ สร้างสภาพแวดล้อมที่ได้รับผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งสามารถส่งเสริมการเชื่อมต่อสังคมและ ขณะเดียวกันก็สนับสนุนการกระจายความหลากหลายของระบบนิเวศ ไปจนถึงการฟื้นฟูถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติสำหรับสัตว์ป่า
รายละเอียดโครงการ :
บริษัท พีทีทีแอลเอ็นจี จำกัด ได้จัดซื้อพื้นที่ดินขนาด 185 ไร่ เพื่อก่อสร้างท่าเทียบเรือและสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวหนองแฟบ บริเวณ บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน คือส่วนสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว 135 ไร่ และส่วนอาคารสำนักงาน 40 ไร่
“หนองแฟบ” เป็นคำเรียกพื้นที่ ที่มีลักษณะเป็นหนองน้ำ มีต้นแฟบที่เป็นไม้พุ่มเนื้อแข็ง สูงประมาณ 1.5- 5 เมตร พุ่มโปร่ง เป็นไม้เด่น อย่างไรก็ตาม พื้นที่เดิมได้ถูกถมปรับระดับแล้วบางส่วน มีส่วนที่เป็นหนองน้ำหลงเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย และต้นแฟบได้หายไปจากพื้นที่แล้ว ปัจจุบัน พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกปกคลุมด้วยวัชพืชพื้นถิ่น มีต้นไม้ใหญ่กระจายอยู่เล็กน้อยรอบโครงการ
ภูมิประเทศของส่วนอาคารสำนักงานเป็นที่ราบ ลาดเอียงไปยังหนองน้ำที่ยังหลงเหลืออยู่ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมเสียหาย เนื่องจากกระบวนการ eutrophication และการพัฒนาที่ดินโดยรอบ นอกจากนี้ทางระบายน้ำธรรมชาติ ทางด้านตะวันออกของพื้นที่ถูกตัดขาดออกจากเส้นทางน้ำเดิม จากการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม อาคารที่อยู่อาศัย และถนนในบริเวณข้างเคียง เป็นผลให้พื้นที่หนองน้ำถูกทำลายและถูกแทนที่ด้วยทุ่งหญ้าโดยกระบวนการ succession ของระบบนิเวศ
เพื่อให้เข้าใจถึงสภาพปัจจุบันของที่ดินผืนนี้ ทีมออกแบบได้ศึกษาประวัติศาสต์ระบบอุทกวิทยาของพื้นที่ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากการระบายน้ำตามธรรมชาติของพื้นที่โครงการ เพื่อฟื้นฟูหนองน้ำที่เสียหาย พร้อมกับปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูพืชพื้นเมืองที่ใกล้สูญพันธุ์ และนำต้นแฟบกลับมา นอกจากนี้ยังมีการรวบรวมข้อมูลสถิติน้ำฝน เพื่อคำนวณปริมาณน้ำที่ต้องการใช้ในการฟื้นฟู และได้มีการทดสอบความสมบูรณ์ของดินและน้ำอีกด้วย
The Conversion from Waste to Environmental Benefits
น้ำเย็นส่วนเกินจากกระบวนการ regasification ของก๊าซธรรมชาติเหลว นอกเหนือจากนำไปหมุนเวียนทำความเย็นให้อาคารทั้งหมดแล้ว บางส่วนจะถูกนำมาใช้สร้างสภาพภูมิอากาศพิเศษภายใน Climatic Atrium ทำให้สามารถปลูกพืชเมืองหนาวได้ แทนการส่งน้ำเย็นกลับไปยังทะเลโดยตรง ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศทางทะเลได้
นอกเหนือจากการนำน้ำเย็นส่วนเกินมาใช้งาน น้ำที่ผิวดินทั้งหมดของโครงการจะถูกเก็บกัก ผ่านระบบกรองที่ bioswale ซึ่งน้ำจะถูกปรับปรุงคุณภาพ โดยการลดค่าBODลง แล้วระบายลงสู่สระเก็บน้ำธรรมชาติภายในโครงการ น้ำที่กักเก็บมีไว้เพื่อบำรุงรักษาส่วน softscape ของโครงการ หล่อเลี้ยงป่าไม้ สร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืน ซึ่งจะช่วยลดอุณหภูมิ เพิ่มการกักเก็บคาร์บอน และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับผู้ใช้งานโครงการทุกคน
The Restoring of Nature
จากการศึกษาป่าไม้ดั้งเดิมของจังหวัดระยอง โดยคำนึงถึงภูมิประเทศ ระยะห่างจากทะเล คุณสมบัติของดินและน้ำ และความผันผวนของระดับน้ำในโครงการ พบว่าชนิดป่าที่เหมาะสมกับโครงการที่สุด คือ ป่าชายหาด ป่าพรุ ป่าเสม็ด และป่าบุ่งป่าทาม โดยได้มีการคัดเลือกพรรณไม้พื้นเมืองกว่า 200 ชนิด เพื่อนำมาปลูกเป็นป่านิเวศสำหรับโครงการ
เพื่อให้ระบบระบายน้ำผิวดินเป็น zero runoff จึงได้มีการนำลักษณะของ Ecotone ตามธรรมชาติมาใช้ ทีมออกแบบได้กำหนดให้มีป่าเสม็ด ซึ่งปลูกต้นเสม็ดขาว อยู่ที่ขอบทางทิศเหนือของสระเก็บน้ำธรรมชาติ บริเวณนี้ถูกออกแบบให้มีความลาดชันเล็กน้อย กำหนดค่าระดับอยู่ที่ +7.00 MSL. ซึ่งเป็นค่าระดับของบ่อที่จะทำให้มีน้ำท่วมในฤดูฝน และแห้งเมื่อน้ำลดลงในฤดูแล้ง ซึ่งเหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของต้นเสม็ดขาว
นอกจากนี้ได้มีการออกแบบให้มีแนว protection strip วางตามแนวขอบของพื้นที่โครงการเพื่อสร้างแนวป้องกันธรรมชาติ สร้างความเป็นส่วนตัว ก่อให้เกิดระบบนิเวศใหม่ และป้องกันการรุกล้ำของเมืองและมลพิษต่างๆ ทั้งนี้เนื่องด้วย ดินเดิมไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ สระเก็บน้ำจึงต้องถูกปูด้วย Geosynthetic Clay Liner เพื่อช่วยกักเก็บน้ำ สำหรับบริเวณป่าเสม็ดและป่าพรุจะดาดด้วยดินเหนียว เพื่อให้สามารถปลูกพืชร่วมกับการเก็บกักน้ำได้
บริเวณกึ่งกลางของอาคาร บริเวณทิศตะวันตกของ climatic atrium จะมีการสร้างน้ำตกขนาดใหญ่เพื่อหมุนเวียนน้ำและให้ความชุ่มชื้น สำหรับสนามหญ้าด้านหลังอาคารหลัก ทำหน้าที่เป็น detention pond ยืดระยะเวลาการไหลบ่าของน้ำผิวดินในช่วงฤดูฝน และช่วยกระตุ้นให้เกิดการซึมลงสู่ใต้ผิวดิน เพิ่มการซึมของน้ำเข้าไปยังสระเก็บน้ำธรรมชาติ
ในทางกลับกัน green roof บนอาคารหลักจะเป็นจุดชมวิวจากมุมมองสูง รวมถึงเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ต่างๆ เช่น แมลงและนก ช่วยหน่วงเหนี่ยวน้ำฝน และเป็นชั้นฉนวนกันความร้อนให้แก่อาคาร