บริษัท สถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด

โครงการ บ ว ร บีกริม

Community Service/ Workshop: Honor Award

“By working on participatory process, the site plan of this project has well responded to needs of the community. The way of life in this community has clearly been reflected, while the environmental conditions have been enhanced.”

2021 AWARDS JURY

Project Summary :

“Learn lessons from the existing, vision to create the future.” Bring the one of underdeveloped region area Returning to the place be proud In the mind and in the daily life of B.Grimm villagers.

B.Grimm smart village locates in Sa Kaeo province, Thailand which is an underdeveloped region. The site project consists of 3 parts: school, temple, and agricultural area surrounded by a village local.

From the participatory in designing the area for community development would like to improve based on the existing condition. The 62,400 sq.m master plan has a concept design considering the environment, the potential of existing space, and human well-being. The areas of social activities such as sports, recreation, learning space, and agricultural area were used by connecting the village, the temple, and B.Grimm school.

To create a learning society, it can be started from a house, temple, and school

Design Approach

1.People can take their food productivity from their eco-farm: As the project is designed with the concept of sustainability, every single area could be productive. We used the Thai traditional orchard included trees, shrubs, and climber plants rotated by season as the planting concept that integrated with an existing. For a number of agricultural plants were designed based on the research, vegetable and fruit consumption demand analysis per day enough for the people. Due to the area limitation, edible gardens are applied at different levels.

2.From Thai local wisdom to solve the water problem: The existing water drainage system has not enough for the water runoff made this site has water stagged in rainy season. Therefore, to solve this problem, the water management in this project was inspired by local Thai wisdom: ditch and dike, which could collect the water from every area by the swales and natural gutters. Then, they can take water to the detention area (rice fields) and the catchment area (lotus pond) saving it for later in the dry season.

3.The learning route is based on the natural conditions of each area: The learning trail was designed along with the site and local Thai wisdom station located in a different area. The whole area in this site can be an outdoor classroom for learning which started from the area of village, temple, and school. Finally, B.Grimm village can be a smart community model which has been driven with a sustainable concept.

ชื่อโครงการ : โครงการ บ ว ร บีกริม  
สถานที่ตั้ง : ตำบลคลองทับจันทร์ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
ชื่อผู้ส่งประกวด/บริษัท : บริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด
หัวหน้าโครงการ : ชัชนิล ซัง
ภูมิสถาปนิกโครงการ : ชัชนิล ซัง, รัฐพงศ์ ปิ่นแก้ว
ผู้ว่าจ้าง / เจ้าของโครงการ : บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)

ลักษณะโครงการ :

แผนแม่บทพัฒนาชุมชนโดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม

แนวคิดหลักของโครงการ :

พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ที่อยู่แถบชายแดนภาคตะวันออกของประเทศไทย ทว่ามีจุดแข็งคือความจริงใจและความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันของผู้คนในชุมชน ซึ่งโครงการนี้จะเป็นโครงการตัวอย่างของการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับจุดที่เล็กที่สุด แต่มีความสำคัญที่สุดอันได้แก่ คนและชุมชนในระดับหมู่บ้าน ด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของ “บ้าน วัด และโรงเรียน” เพื่อจะขยายผลไปสู่การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจในสังคมอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อให้ชุมชนรักและภาคภูมิใจในถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง ด้วยแนวคิด SMART VILLAGE ที่ต่อยอดจากองค์ความรู้เทคโนโลยีด้านพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นแบบอย่างให้การพัฒนาชุมชนอื่น ๆ ทั่วประเทศต่อไป

รายละเอียดโครงการ :

โครงการ บ ว ร บีกริม ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองทับจันทร์ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เป็นพื้นที่แถบชายแดนภาคตะวันออกของประเทศไทย มีขนาดพื้นที่ที่ครอบคลุมส่วนของพื้นที่วัดและโรงเรียน 22 ไร่ ซึ่งโครงการนี้เริ่มจากการศึกษาวิถีชีวิตของคนในชุมชนดั้งเดิมของคนในชุมชนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อร่วมจัดทำผังแม่บท สำรวจพื้นที่ที่คนในชุมชนรู้สึกผูกพัน พื้นที่ที่สร้างความภาคภูมิใจ ลงพื้นที่พูดคุยกับกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน ทำความเข้าใจคุณค่า วิสัยทัศน์ ความต้องการในการพัฒนาพื้นที่ชุมชน และแนวทางการทำธุรกิจชุมชน เพื่อพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นชุมชนต้นแบบใน 5 มิติของการพัฒนาได้แก่ คน ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ เพื่อให้ชุมชนรักในถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง สร้างชุมชนที่เข้มแข็ง มีรายได้ และมีความเป็นอยู่อย่างเป็นสุข เป็นการผลักดันการเรียนรู้ที่เริ่มจากบ้าน วัด และโรงเรียนในพื้นที่ โดยครอบคลุมพื้นที่ชุมชน แหล่งน้ำ และแหล่งทำการเกษตรที่สำคัญ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1.สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อจัดทำผังแม่บทการพัฒนาชุมชนบ้านบีกริมอย่างบูรณาการด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ชุมชน และคน แนวคิด บ ว ร (บ้าน วัด และโรงเรียน) บีกริม SMART VILLAGE

2.สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อออกแบบการอนุรักษ์ อาคารสมเด็จย่า โรงเรียนบีกริม ให้เป็นอนุสรณ์ครบรอบ 50 ปี โรงเรียนบีกริม และให้เป็นพิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ที่มีชีวิตของชาวชุมชน

3.สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้เพื่อออกแบบพัฒนาต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ SMART ECO-HOUSE &FARM ต้นแบบบ้านและการจัดการพื้นที่เกษตรด้วยเทคโนโลยีพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่ชุมชนสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง ( Do It Yourself ) ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อขยายผลสู่ครัวเรือนอื่น ๆ ในชุมชนและขับเคลื่อนชุมชนบ้านบีกริม สู่การเป็น SMART VILLAGE ต่อไป

4.พัฒนาชุมชนทั้ง 5 ด้านได้แก่

ด้านคน : สร้างคนดี รักการเรียนรู้ มีคุณภาพและคุณธรรม

ด้านชุมชน : สร้างชุมชนเข้มแข็ง และรักถิ่นฐานบ้านเกิด

ด้านสังคม : ลดความเหลื่อมล้ำ เข้าถึงบริการและโอกาสต่างๆ ของภาครัฐอย่างเป็นธรรมทั่วถึง

ด้านสิ่งแวดล้อม : รักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ Clean & Green

ด้านเศรษฐกิจ : ยกระดับรายได้ต่อหัวของคนในชุมชน สร้างระบบการออม

จากการทำกระบวนการมีส่วนร่วมและวิเคราะห์พื้นที่โครงการ ทำให้เกิดส่วนประกอบของโครงการดังนี้

1.Sport and recreation zone โดยเป็นการพัฒนาจากพื้นที่ที่คนในชุมชนมีการใช้งานเดิมอยู่แล้ว อาทิ สนามฟุตบอลภายในโรงเรียน แต่มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม มีร่มเงา และสามารถได้อย่างดีมากขึ้น

2.Education zone ได้แก่ บริเวณโรงเรียนบีกริมและบริเวณโดยรอบ โดยมีการออกแบบเพิ่มพื้นที่สาธารณะสำหรับให้ผู้คนในชุมชนได้เกิดการปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น และมีการเพิ่ม “เส้นทางการเรียนรู้” ในบริเวณของพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่าเดิม เพื่อเป็นการนำพาผู้คนไปยังสถานีการเรียนรู้ในบริเวณต่างๆที่เหมาะสมกับบริเวณนั้นๆ

3.Agricultural zone เพื่อเป็นการส่งต่อองค์ความรู้ในการทำเกษตรกรรมของไทย ทั้งการทำนา การปลูกพืชพรรณที่สามารถรับประทานได้อย่างไม้ผล แปลงผัก รั้วไม้เลื้อย และแนวคิดการทำเกษตรร่องสวน เพื่อให้คนในชุมชนสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตามฤดูกาลในแต่ละช่วงเวลา นอกจากนี้ พื้นที่บริเวณดังกล่าวยังเป็นพื้นที่หน่วงและรับน้ำในช่วงฤดูฝนได้เช่นกัน

4. B.Grimm center เป็นศูนย์ให้ข้อมูลและศูนย์การเรียนรู้ บ ว ร บีกริม ซึ่งเป็นการพัฒนาจากอาคารที่ไม่ได้มีการใช้งาน

5. Temple เป็นบริเวณที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนในชุมชน ได้มีการพัฒนาพื้นที่ให้สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดีมากขึ้น และออกแบบพื้นที่สำหรับทำกิจกรรม เพื่อให้เป็นหนึ่งในพื้นที่ศูนย์รวมตัวของชุมชน

Design approach

1.การเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรได้จากพื้นที่ โดยออกแบบและสร้างแปลงผักในโครงการ มีการปรับเปลี่ยนรั้วให้กลายเป็นรั้วที่ปลูกพืชพรรณที่สามารถรับประทานได้ นับได้ว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่เดิมและพัฒนาให้ดีมากยิ่งขึ้น โดยมีการศึกษาและออกแบบให้เพียงพอกับผู้คนในชุมชน มีความหลากหลายตามฤดูกาล

2.การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ ด้วยแนวคิดจากภูมิปัญญาไทยเดิม ออกแบบระบบน้ำโดยนำแนวคิดมาจากภูมิปัญญาร่องสวนของชาวไทย เพื่อให้ตอบรับกับลักษณะของพื้นที่ เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เรียนรู้ภายในโครงการ และมีการสร้างพื้นที่หน่วงน้ำ และรับน้ำในช่วงฤดูฝน

3.การออกแบบเส้นทางการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ด้วยการออกแบบให้มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์พื้นที่แต่ละบริเวณทั้งในเรื่องของการทำเกษตรกรรม การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อให้เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสังคมการเรียนรู้ในประเทศไทย และสามารถเป็นชุมชนต้นแบบให้กับชุมชนอื่นๆต่อไปได้ในอนาคต